Posted by: thaifarmer | มีนาคม 9, 2011

EM ขยะหอม

Posted by: thaifarmer | มีนาคม 9, 2011

EM “Effective Microorganisms”

Posted by: thaifarmer | มีนาคม 9, 2011

แหนแดง

เชื้อพันธุ์ข้าว : มรดกของประเทศไทย

I   ความสำคัญ
ข้าวเป็นพืชอาหารที่สำคัญต่อมนุษย์ประชากรกว่าครึ่งของโลกบริโภคข้าวเป็น อาหารหลักคนไทยมากกว่าร้อยละ  80    บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักโดยบริโภควันละ  3  ครั้ง  เฉลี่ยประมาณ  130  กิโลกรัมต่อคนต่อปี  ข้าวนอกจากโช้สำหรับบริโภคเป็นอาหารหลักแล้วยังเป็นส่วนประกอบหลักในการทำ ขนมหวานของขบเคี้ยวของทั้งคนไทยและต่างประเทศด้วย

ปัจจุบันข้าวที่ปลูกบริโภคมีอยู่  2  ชนิด  และมีชุดโครโมโซม AA เหมือนกัน  คือ  ข้าวเอเชีย (Oryza sativa L.) กับข้าวอาฟริกา (O. glaberrima Steud.) ข้าวเอเชียปลูกทั่วไปในเอเชีย  อเมริกา  ออสเตรเลีย  ยุโรป  และอาฟริกา  ส่วนข้าวอาฟริกามีปลูกเฉพาะทางด้านตะวันตกของทวีปอาฟริกาเท่านั้น  ปัจจุบันผลผลิตของข้าวเปลือกที่ผลิตได้ทั่วโลกปีละมากกว่า  550  ล้านตัน  สาธารณรัฐประชาชาติจีนผลิตได้มากที่สุด  ประเทศไทย  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ส่งข้าวออกขายมาก (IRRI, 1998-1999)

ข้าวสามารถขึ้นได้อย่างกว้างขวางตั้งแต่เส้นรุ้งที่  530 เหนือถึง 400 ใต้ (Oka, 1987)  จากระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 2,500  เมตร  หรืออาจมากกว่านี้  แม้ว่าส่วนมากข้าวจะปลูกแบบนาน้ำฝน  หรือในเขตชลประทาน  แต่ข้าวก็เป็นพืชเดียวเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในระดับน้ำสูงกว่า 4 เมตร หรือไม่ต้องมีน้ำขังเลย  นอกจากนี้ข้าวยังสามารถปลูกได้ในดินเป็นกรดระดับ pH 3-10  หรือในดินเค็ม 0-1% อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-340 ซ. แต่ข้าวก็สามารถงอกที่อุณหภูมิ 10-400ซ. (ประพาส, 2523)

II การปลูกข้าวในประเทศไทย
การปลูกข้าวในเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน เชื่อว่ามีการปลูกข้าวมาแล้วมากกว่า 5,500  ปี และสันนิษฐานว่ามีการปลูกข้าวเหนียวมาก่อนเริ่มต้นแต่ศตวรรษที่  6  สำหรับข้าวเจ้าเริ่มปลูกประมาณศตวรรษที่  13  (สมัยศรีวิชัย)  ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีโดยเฉลี่ยปีละประมาณ  58  ล้านไร่  ได้ผลผลิตประมาณ  18  ล้านต้นข้าวเปลือก  ข้าวนาปรัง (นานอกฤดู)  ปลูกเฉลี่ยปีละประมาณ  5  ล้านไร่  ได้ผลผลิตประมาณ 4.5  ล้านต้นข้าวเปลือก  รวมผลผลิตข้าวทั้งปีประมาณ 22-23  ล้านตัน (สงกรานต์, 2545)  ใช้ประโยชน์ภายในประเทศประมาณ  13  ล้านตัน (ส่วนใหญ่บริโภค) ที่เหลือจะเป็นสินค้าส่งออกประมาณ  10  ล้านตัน (ประมาณ  6.5  ล้านตันข้าวสาร)

III  ทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวไทย
ข้าวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่วนมากบริเวณริมถนน  ริมคลอง  หรือบริเวณ  แม้กระทั่งในนาข้าว เรียกว่า ข้าวป่า  หรือข้าวที่มีความเกี่ยวข้องกับข้าวปลูก  หรือลูกผสมระหว่างข้าวป่ากับข้าวปลูก (spontanea forms) ซึ่งยังไม่มีการวิวัฒนาการมากเช่น  เปลี่ยนเป็นรวงยาวเมล็ดใหญ่ติดเมล็ดมาก เมล็ดร่วงยากหรือลำต้นแข็ง สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่มาจากสภาพการปลูกที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดู กาล  (Oka และ Morishima, 1971  และ Chang, 1976 b) และสภาพแวดล้อมทำให้ข้าวป่าวิวัฒนาการมาเป็นข้าวปลูก  และเนื่องจากความผันแปรของสภาพแวดล้อมมีมากจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มี พันธุ์ข้าวปลูกจำนวนมาก  ประกอบกับการคัดเลือกของมนุษย์ทำให้มีพันธุ์ข้าวปลูกทั่วโลกประมาณ 120,000  พันธุ์ (IRRI, 1980)

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 50  ถึง 210 เหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 970 ถึง 1060 ตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 513,115  ตารางกิโลเมตร  ซึ่งอยู่ในเขตศูนย์กลางการผันแปรของข้าง  ดังจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งข้าวป่าและข้าวปลูกประมาณว่ามีข้าวปลูก มากกว่า 3,500  พันธุ์  ที่มีลักษณะต่างกันและมีข้าวป่าอย่างน้อย  5  ชนิด  พบในประเทศไทย

III.I ทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวป่า (Oryza spp.)
ความหลากหลายทางชีวภาพและการแพร่กระจาย
ข้าวป่าเป็นข้าวที่เกิดขึ้นและเจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ  โดยทั่วไปจะพบตามริมหนอง  คลอง  บึง  หรือแม้กระทั่งในพื้นที่นาข้าวปลูกมีชื่อเรียกแตกต่างกัน  เช่น  ข้าวละมาน  หญ้าละมาน  หญ้าสะแห  หญ้าข้าวนก  หญ้านกปี้ด หรือข้าวผี

ข้าวป่าจัดเป็นแหล่งพันธุกรรมของข้าวอย่างดี  สำหรับนำมาใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งนำมาช่วยพัฒนา พันธุ์ข้าวให้มีความต้านทานต่อโรค  แมลง  หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ  ปัจจุบันได้มีการจำแนกและยอมรับกันแล้วว่ามีข้าวป่า  21  ชนิด  แพร่กระจายทั่วโลกสำหรับประเทศไทย  พบว่ามี  5  ชนิด  แพร่กระจายทั่วประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  2  ชนิด  ที่เป็นบรรพบุรุษ ของข้าวปลูกเอเชียพบมากทุกภาค (สงกรานต์, 2542)

ชนิดข้าวป่าและลักษณะที่พบในประเทศไทยมี

Oryza rufipogon Griff หรือ O. perennis Moench. มีชุดโครโมโซมชุด AA จำนวน  24  โครโมโซม เป็นข้าวป่าอายุข้ามปี  ต้นสูงกว่า  1  เมตร  กอแผ่-เลื้อย  ติดเมล็ดน้อย  เมล็ดเมื่อสุกสีดำ  ร่วงง่ายอับละออกเกสร (anther) ยาวเกือบเท่าเมล็ด  มีหางยาวค่อนข้าวอ่อน  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือข้อมีการแตกหน่อหรือกอตามข้อ  จึงมีอายุข้ามปี  ผสมข้ามกับข้าวปลูกได้เองตามธรรมชาติ  พบตามบริเวณที่โล่งแจ้ง  ทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางและภาคใต้

O. nivara Sharma et Shastry มีชุดโครโมโซมชุด AA จำนวน  24  โครโมโซม เป็นข้าวป่าอายุปีเดียว  ต้นสูงประมาณ  50-160  เซนติเมตร  ทรงกอตั้ง-แผ่ ติดเมล็ดน้อย-ปานกลาง  เมล็ดเมื่อสุกสีดำ และร่วงง่าย มีหางยาว ค่อนข้างแข็ง ขยายพันธุ์ได้โดยทั้งเมล็ดและแตกหน่อตามข้อ  ผสมข้ามกับข้าวปลูกได้เองตามธรรมชาติ  พบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง  และตะวันออกเฉียงเหนือตามบริเวณที่โล่งแจ้ง ชื้น น้ำขัง-ตื้น

O. officinalis Wall ex Watt   มีชุดโครโมโซมชุด CC จำนวน  24  โครโมโซม เป็นข้าวป่าอายุข้ามปี ทรงกอตั้ง-เอน ออกดอกตลอดปีเมล็ดเล็ก ป้อม เมื่อสุกเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ติดเมล็ดมาก ร่วงง่ายขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  พบบริเวณร่มเงา  เช่น  ในสวนทุเรียน  หรือบริเวณน้ำตก  จังหวัดที่พบคือกรุงเทพมหานคร   นนทบุรี  ชุมพร  สระบุรี  และเชียงราย

O. ridleyi Hook มีโครโซม 4  ชุด (4x = 48) จำนวน  48  โครโมโซม สูงประมาณ  30-100  เซนติเมตร  กอตั้งตรง-แผ่ ใบหนา สีเขียวเข้ม  เกสรเพศเมียสีม่วง-กำมะหยี่  กลีบรองดอกยางมีหางแต่สั้นเมล็ดยางเรียว เมื่อสุกสีดำ ติดเมล็ดน้อยและร่วงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  พบตามบริเวณที่ร่มเงา  หรือใกล้บริเวณน้ำตก  มีแหล่งแพร่กระจายน้อยมาก  พบในจังหวัดนนทบุรี  สระบุรี  สงขลา  และกรุงเทพมหานคร

O. granulata Nees et Arn. ex Watt มีโครโมโซม 2 ชุด (2n = 2x=24) จำนวน  24  โครโมโซมลำต้นเล็กใบคล้ายใบไผ่ กอตั้งตรง-แผ่ สูงประมาณ  80  เซนติเมตร รวงไม่แตกระแง้ เกสรเพศเมียสีขาว  ติดเมล็ดน้อยมาก  เมล็ดสุกสีดำ ร่วงง่าย  ไม่มีหาง  พบในที่ร่มเงา – ทึบ หรือใกล้ ๆ บริเวณน้ำตกพบในภาคเหนือ เช่น พิษณุโลก เชียงใหม่ น่าน ลำปาง สำหรับภาคกลาง พบที่สระบุรีเท่านั้น
นอกจากข้าวป่าที่กล่าวมาแล้ว  ยังพบข้าวป่าที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่ากับข้าวปลูก หรือระหว่างข้าวป่าที่เป็นบรรพบุรุษข้าวปลูกด้วยกัน  ข้าวป่าประเภทนี้  มีการกระจายตัวหรือแปรปรวนสูง  ไม่สามารถจัดเป็นอีกชนิดได้  จึงเรียกว่า Spontanea forms ของข้าวปลูกมีลักษณะกึ่งข้าวป่าและข้าวปลูก  แต่มีความแข็งแรงกว่าข้าวปลูก บ่อยครั้งข้าวป่านี้จะเกิดในแปลงข้าวปลูก  ซึ่งเป็นปัญหาต่อเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งปลูกข้าวแบบหว่าน

การประเมินคุณค่าและการใช้ประโยชน์
เนื่องจากข้าวป่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าข้าวปลูกมาก  ลักษณะบางลักษณะ  โดยเฉพาะความต้านทานโรคและแมลงจึงอาจหาไม่พบในข้าวปลูกแต่จะพบเฉพาะในข้าว ป่าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น  โรคเขียวเตี้ย (Grassy  stunt) ซึ่งเกิดจากเชื้อมายโคพาสมา  มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็น พาหะในการแพร่เชื้อ  และพบว่าพันธุกรรมความต้านทานโรคนี้พบเฉพาะในข้าวป่า  O.nivara จากอินเดียเพียงตัวอย่างเดียว  สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ยังมีขีดจำกัด เนื่องจาก ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับข้าวป่าน้อย  และจากรายงานพบว่าแหล่งพันธุกรรมข้าวป่าของไทยไม่ต้านทานต่อโรคและแมลงที่ สำคัญ  ส่วนชนิดที่ต้านทานแมลงโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ก็มีโครโมโซมต่างชนิดกับข้าวปลูก  การนำมาใช้ประโยชน์โดยตรงทำได้ยาก  ซึ่งต้องนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยในขบวนการพัฒนาพันธุ์ต่อไป (สงกรานต์ และคณะ2536)  ปัจจุบันสายพันธุ์ข้าวที่มีพันธุกรรมความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจาก เชื้อพันธุ์ข้าวป่า O. officinalis จากประเทศไทยที่ทราบว่าต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น IR547242-11-10-13-21-2 และIR57751-1-19-13-17-13

III.2 ทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวปลูก ( Oryza sativa L.)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ข้าวปลูกที่ปลูกในปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากข้าวป่านานกว่า 7,000  ปีมาแล้ว (Chang, 1976 a) ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นข้าวปลูกพันธุ์ต่างๆ  จำนวนมากซึ่งส่วนมากเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม  และการคัดเลือกของชาวนา  ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์  จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในประเทศไทย  ปรากฏว่ามีชื่อพันธุ์ข้าวที่แตกต่างกัน 5,928 (ฉวีวรรณ, 2543) ชื่อ ซึ่ง Perez  and Chang (1974) เคยคาดว่าอย่างน้อยมีพันธุ์ข้าว 3,500 ชื่อที่แตกต่างกันทั้งชื่อและลักษณะ

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า  การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ดีจะเป็นการเพิ่มผลผลิตเพิ่ม คุณภาพ หรือเพิ่มความต้านทานโรคหรือแมลงนั้น  นอกจากจะอาศัยวิธีการปรับปรุงพันธุ์  ผสมพันธุ์คัดเลือกและทดสอบพันธุ์ที่เหมาะสม ประกอบกับโชคช่วยแล้ว  วัตถุดิบที่สำคัญที่สุดที่จะขาดเสียไม่ได้  คือ เชื้อพันธุ์ข้าว  ยิ่งเชื้อพันธุ์มีฐานทางกรรมพันธุ์ (genetic base) กว้าง และแปรปรวนมากเท่าใด โอกาสและความสำเร็จที่จะได้พันธุ์ตามต้องการก็จะมีมากขึ้น  ดังนั้นการเสาะแสวงหาเชื้อพันธุ์แปลกๆ ใหม่ๆ จากแหล่งทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าว ( rice genetic resources)  มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งทรัพยากรข้าวปลูกมีดังนี้

พันธุ์ข้าวโบราณ (Primitive types) พันธุ์ข้าวเหล่านี้ยังมีลักษณะดั้งเดิมอยู่ เช่น มีหาง ร่วงง่าย ระยะพักตัวยาว มีรากที่ข้อ หรือมีลักษณะที่น่าสนใจที่พบบ่อย เช่น ต่านทานแมลง ทนแล้ง ทนน้ำท่วม หรือมีความสามารถดูดธาตุอาหารสูง พันธุ์ข้าวเหล่านี้ส่วนมากหาได้ตามบริเวณที่ ๆ มีข้าวป่าหรือวัชพืชที่เกี่ยวข้อง (Weed races ) ขึ้นอยู่ เช่น พันธุ์ข้าวปีก  พันธุ์เบี้ยวเตี้ย

พันธุ์ข้าวลักษณะพิเศษ (Specialty types) พันธุ์ข้าวปลูกที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนมากมีลักษณะเฉพาะ เช่น ต้านทานโรค ต้านทานแมลง  ทนอากาศหนาว หรือทนดินที่มีปัญหาพันธุ์ข้าวเหล่านี้ สามารถอยู่ในความนิยมของเกษตรกรได้ทั้งๆ ที่ส่วนมากอาจมีเมล็ดสั้น หรือคุณภาพไม่เป็นที่นิยมของตลาด เช่น ขี้ช้าง หางยี  ประดู่แดง นางเขียว ก่ำดำ ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น

พันธุ์ข้าวที่เลิกปลูกแล้ว (Obsolete types) พันธุ์ข้าวเหล่านี้แต่ก่อนอาจเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางแต่ปัจจุบันไม่มี ปลูก อาจสูญพันธุ์ไปหรือไม่เป็นที่นิยมปลูก เช่น ปิ่นแก้ว  นอนทุ่ง ขาวจำปี

พันธุ์ข้าวที่ปลูกเฉพาะถิ่น (Minor varieties) กลุ่ม นี้เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแต่มีปลูกมากบางท้อง ถิ่น พันธุ์ข้าวเหล่านี้ยังมีความผันแปรมาก  เกษตรกรอาจปลูกไว้ตามความต้องการของตนอาจมีอายุเหมาะสมคุณภาพเมล็ดดี  หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน เช่น สังข์หยอด  ก่ำดำ มันวัว ข้าวนก เจ็กเชย  ขาวพวง เขี้ยวงู ขาวเศรษฐี  เป็นต้น

พันธุ์ข้าวปลูกเป็นการค้า (Commercial vars.) โดยทั่ว ไปแล้วกลุ่มนี้เป็นข้าวพันธุ์ดีผ่านการคัดเลือกหรือปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ให้ผลผลิตสูง  คุณภาพเมล็ดดี  อาจเหมาะทั้งตลาดภายในและนอกประเทศ จึงมีการปลูกกันอย่างกว้างขวาง เช่น ขาวดอกมะลิ105 เหลืองประทิว123 นางมลเอส4, ขาวตาแห้ง17, กข6, กข15 เหนียวสันป่าตอง เป็นต้น
พันธุ์ข้าวให้ผลผลิตสูง (High – Yielding vars.) พันธุ์ข้าวในกลุ่มนี้เป็นผลจากการปรับปรุงพันธุ์  ได้พันธุ์ข้าวที่มีพันธุกรรม  ต้นเตี้ย หรือสูงปานกลาง ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้

อย่างไรก็ดี  พันธุ์ข้าวเหล่านี้บ่อยครั้งพบว่าขาดความต้านทานต่อแมลงหรือโรคที่สำคัญ หรือไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่น กข1, กข21, กข23, สุพรรณบุรี60, สุพรรณบุรี90, เจ้าหอมคลองหลวง  ปทุมธานี 1 เป็นต้น
ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นหรือสายพันธุ์ดัก ( Breeding stocks) สาย พันธุ์เหล่านี้ได้มาจากโครงการปรับปรุงพันธุ์  ซึ่งมีลักษณะดีหลายอย่าง  แต่ไม่สามารถนำออกขยายให้เกษตรกรปลูกได้  เป็นเพราะว่ายังขาดลักษณะดีบางอย่างที่ต้องการช่วงนั้น  จึงยังต้องปรับปรุงอีกเล็กน้อย  เช่น  PMI 6624-257-1  หรือ CNT200

สายพันธุ์จากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม  (Mutants) สาย พันธุ์ข้าวที่ทราบว่ามีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมที่ได้มาจากโครงการเปลี่ยน แปลงพันธุกรรม  อาจโดยการชักนำด้วยสารเคมีหรือรังสีโดยทั่วไปแล้วจะได้สายพันธุ์ที่อ่อนแอ  แต่ก็มีบ้างที่พบว่ามีลักษณะเป็นที่ต้องการของนักปรับปรุงพันธุ์  เช่น  ต้านทานโรค  หรือเปลี่ยนจากข้าวเจ้าเป็นข้าวเหนียว  อาจแนะนำให้เกษตรปลูกได้เลย  หรือใช้เป็นพันธุ์พ่อแม่ในโครงการปรับปรุงพันธุ์  เช่น  KDML  105’65G3U-84

การรวบรมและการอนุรักษ์
การรวบรวมพันธุ์ข้าวในประเทศไทยครั้งแรกประมาณ  พ.ศ.  2540  เริ่มจากกการประกวดพันธุ์ข้าว  และมีการประกวดพันธุ์ข้าวตามมาอีกหลายครั้ง   พันธุ์ข้าวที่ส่งเข้าประกวด  ได้ถูกรวบรวมไว้แล้วนำมาปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดี  แนะนำเป็นข้าวพันธุ์ดีให้เกษตรกรปลูกต่อมามีการรวบรวมพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ  พ.ศ.  2493  (สงกรานต์, 2537)  เพื่อนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาคัดเลือกหาพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดี  ให้ผลผลิตสูง  แนะนำสู่เกษตรกร  พันธุ์ข้าวที่ไม่ได้แนะนำจะถูกเก็บไว้ตามสถานีทดลองข้าวต่าง ๆ  ต่อมาได้นำมาอนุรักษ์ไว้ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี  สถาบันวิจัยข้าว   ปัจจุบันสถาบันวิจัยข้าวได้รวบรวมและอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวของไทยไว้ จำนวน  17,127  ตัวอย่างเชื้อพันธุ์  แยกเป็นข้าวปลูกพื้นเมือง  (Oryza sativa)  จำนวน 16,277  ตัวอย่างและเชื้อพันธุ์ข้าวป่า  5  ชนิด  จำนวน  850  ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ข้าวที่อนุรักษ์ไว้ทั้งหมด  20,775  ตัวอย่าง  แยกเป็นข้าวนาสวน  ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวไร่  และอื่น ๆ  จำนวน  11,681 , 3,898 , 902 , และ 4,294  ตามลำดับ  ในจำนวนนี้เป็นเชื้อพันธุ์ข้าวปลูกจากประเทศ  59  ประเทศจำนวน  2,922  ตัวอย่าง  ตัวอย่างข้าวทั้งหมดนี้ได้อนุรักษ์ไว้ในห้องอุณหภูมิ 150ซ.  50ซ.  และ –100ซ.  จำนวน  20,775 , 7,304  และ  9,519  ตัวอย่างเชื้อพันธุ์  ตามลำดับ

การประเมินคุณค่าและการบันทึกลักษณะ
ผลจากการผสมผสานยีนต้นเตี้ยเข้ากับข้าวต้นสูง  ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่  ๆ  ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้  และการใช้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงหรือพันธุ์ที่มีอายุสั้นปลูก  สามารถผลิตข้าวได้ตลอดปี  จุดมุ่งหมายขั้นต่อไปที่นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวกำลังแสวงหาคือ  พันธุ์ข้าวที่มียีนต้านทานโรคและแมลงแบบถาวร  หรือทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือมีประสิทธิภาพในการปรุงอาหาร และการหายใจดี  ซึ่งลักษณะที่ต้องการนี้จะมีอยู่ในทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวทั้งข้าวป่าและ ข้าวปลูก  โดยเฉพาะจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง  (Indigenous variety)  ดังนั้น  นักปรับปรุงพันธุ์จะต้องทราบลักษณะสำคัญต่าง ๆ   ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงพันธุ์อย่างดีก่อนที่จะนำลักษณะเหล่านั้นมาใช้ใน โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าว

ลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะที่ควรประเมินคุณค่า  คือ  ลักษณะทางสัณฐานวิทยา  ลักษณะทางสรีรวิทยา   ความต้านทานโรคและแมลง  ควรทำโดยการปลูกเชื้อหรือปล่อยแมลงทำลายแล้วอ่านผลเมื่อพันธุ์มาตรฐานไม่ ต้านทานแสดงอาการอ่อนแอมากที่สุด  หรือแห้งตาย
ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ  โดยความร่วมมือกับศูนย์วิจัยข้าว  และสถานีทดลองข้าวทั่วประเทศได้ดำเนินการประเมินคุณค่าลักษณะประจำพันธุ์  และบันทึกลักษณะประจำพันธุ์แต่ละตัวอย่างเชื้อพันธุ์จำนวน  58  ลักษณะ  ซึ่งได้ประเมินคุณค่าไปแล้วมากกว่า  7,000  ตัวอย่าง

การใช้ประโยชน์
พันธุ์ข้าวปลูกจากประเทศไทยได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ มีคุณภาพเมล็ดดี  ดังหลักฐานการประกวดพันธุ์ข้าวของโลกที่ประเทศแคนาดา  พ.ศ.  2476  พันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว ชนะเลิศและยังมีพันธุ์ข้าวของไทยได้รับรางวัลที่  2-3  และอื่น ๆ  อีกรวม  11  รางวัล  จากทั้งหมด  20  รางวัล  (ตารางที่  1)  สาเหตุที่ข้าวของไทยมีคุณภาพเมล็ดดีเป็นเพราะว่าประเทศไทยเป็นแหล่งอู่ข้าว  อู่น้ำ  ซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของอาหารจึงทำให้เกษตรกร  (ชาวนา)  คัดเลือกพันธุ์ข้าวตามความชอบ  โดยพิจารณาคุณภาพเมล็ดและคุณภาพการหุงต้มเป็นหลัก  เนื่องจากประเทศไทยไม่ค่อยประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อย  จึงทำให้พันธุ์ข้าวส่วนมากขาดลักษณะพันธุกรรมในด้านความต้านทานต่อโรคแมลง หรือทนทานต่อสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดีความสำเร็จจากการนำเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองซึ่งเป็นมรดกของคน ไทยมาใช้ประโยชน์โดยตรง  ส่วนมากจะเป็นการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์  (pure line selection)  และเน้นที่คุณภาพเมล็ด  ตัวอย่างพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีนี้  เช่น  พวงเงิน  ปิ่นแก้ว  ขาวตาแห้ง17  นางมลเอส-4  และขาวดอกมะลิ105  (ตารางที่ 2)

สำหรับความสำเร็จจากการนำเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาใช้ประโยชน์โดยทาง อ้อม  ส่วนมากจะนำเชื้อพันธุ์ข้าวของไทยผสมกับเชื้อพันธุ์ข้าวดีจากต่างประเทศที่ ให้ผลผลิตสูงหรือมีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ  หรือนำเชื้อพันธุ์ข้าวของไทย  ชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมไปในทางที่ดี  พันธุ์ข้าวที่ได้จากการพัฒนาทางอ้อมส่วนมากจะให้ผลผลิตสูง และมีความต้านทานโรคและแมลง  เช่น  กข1  กข21  สุพรรณบุรี30  สุพรรณบุรี90  เจ้าหอมคลองหลวง1  เจ้าหอมพิษณุโลก1  และปทุมธานี1  (ตารางที่3)

บทสรุป
ข้าวแพร่กระจายไปทั่วโลก  ปัจจุบันมีความหลากหลายในชนิดของข้าวอยู่  23  ชนิด  เป็นข้าวปลูก  2  ชนิด  คือ ข้าวเอเซีย  (Oyza sativa L.)  และข้าวอาฟริกา (O.glaberrima Steud.)  ความหลากหลายของข้าวปลูกมีมากประมาณว่าข้าวปลูกทั่วโลกมีอย่างน้อย  120,000  พันธุ์  ที่มีลักษณะและชื่อแตกต่างกันประเทศไทยอยู่ในเขตความผันแปรของข้าวมีข้าวป่า แพร่กระจาย  5  ชนิด  ในจำนวนนี้  2  ชนิด  (O.rufipogon และ O.nivara)  เป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกเอเซีย  ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นข้าวปลูกเอเซียซึ่งวิวัฒนาการมาจากข้าวป่า มากกว่า  7,000  ปีมาแล้วและแพร่กระจายอย่างกว้างขวางสามารถพบเห็นได้ทั่ว ๆ  ไป  และพบว่ามีความหลากหลายมากอย่างน้อยมี 5,928  พันธุ์ที่มีชื่อและลักษณะต่างกัน

ปัจจุบันแหล่งทรัพยากรข้าวป่าและข้าวปลูกกำลังอยู่ระยะอันตราย  มีการเสื่อมพันธุกรรม  สถาบันวิจัยข้าวได้การรวบรวมและอนุรักษ์ทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวไทยไว้ใน อาคารศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ  โดยอนุรักษ์ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น  ปัจจุบันอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวไทยไว้ประมาณ  17,127  ตัวอย่าง  และเชื้อพันธุ์ข้าวดีจากต่างประเทศ  2,922  ตัวอย่าง  เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต่อไป

การใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุ์ข้าวปลูกของไทย  เริ่มจากการใช้ประโยชน์โดยตรงคือการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์  แล้วแนะนำส่งเสริมให้ชาวนาใช้ทำพันธุ์  ต่อมาใช้เชื้อพันธุ์ข้าวไทยผสมกับพันธุ์ข้าวต่างประเทศ  ทำให้ได้พันธุ์ข้าวใหม่  ๆ  ที่ให้ผลผลิตสูงปลูกได้ตลอดปี  มีความต้านทานต่อโรคและแมลงดี  สำหรับทรัพยากรเชื้อพันธุ์ข้าวป่า  ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย  เพาะมีขีดจำกัด  มีปัญหาทั้งจากเชื้อพันธุ์ข้าวป่าเอง  และความรู้  ความสามารถในการนำมาใช้ประโยชน์คาดว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะสามารถนำมาช่วยให้มี การใช้ประโยชน์จากทั้งข้าวปลูกและข้าวป่าให้มากยิ่งขึ้น

 

 

Posted by: thaifarmer | กุมภาพันธ์ 27, 2011

ข้าวเจ้าหอมนิล

ข้าวเจ้าหอมนิลที่ได้รับการพัฒนาจนได้เมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข็ม เมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี แตกกอดี ความสูงของต้น 75cm สีของใบและลำต้นเขี้ยวเข้มอมม่วง
เมล็ดข้าวมีสีม่วงเข็ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 500-700 กก/ไร่ ต้านทานโรคไหม้(Blast) ทนต่อสภาพแล้ง(Drought)
และดินเค็ม(Salinity)

คุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิล :
1). วิตามิน B1 B2 และ B รวม วิตามิน E
2). ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม
(โดยเฉพาะธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า)
3). โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป)
4). คาร์โบไฮเดรต (ต่ำกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงกินแล้วไม่อ้วน)
5). สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 8 เท่า
6). เส้นใยอาหาร (FIBER)

ประโยชน์ที่ได้รับ:
ข้าวกล้องหอมนิลอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 30 เท่า มีแคลเซียมและวิตามิน B 1 B 2 และE สูงกว่าถึง 8 เท่า เป็นข้าวที่ไม่ได้สีเอาจมูกข้าวออกจึงมีแร่ธาตุและวิตามินอีกมากกว่า 20 ชนิด ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโรคโลหิตจางและเกล็ดเลือดต่ำ บำรุงประสาท ความจำ กระดูกและฟัน ป้องกันโรคเหน็บชา รับประทานข้าวหอมนิลช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้
ช่วยสร้างเซลล์ผิวหนังและมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์หอมนิลนี้ยังมี สารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัย และธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวหอมนิลนี้ รับประทานเข้าไปในร่างกายสามารถดูดซึมได้เลย (ข้าวบางพันธุ์ แม้จะมีธาตุเหล็ก แต่รับประทานแล้วร่างกายไม่สามารถดูดซับก็ไม่มีประโยชน์)

* ข้อมูลเรื่องคุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิลจาก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทค

Posted by: thaifarmer | กุมภาพันธ์ 27, 2011

ชื่อพันธุ์ – สุพรรณบุรี 3

ชื่อพันธุ์ – สุพรรณบุรี 3 (Suphan Buri 3)
ชนิด – ข้าวเจ้า
คู่ผสม – Basmati370*3 / กข7 / ไออาร์68


ประวัติพันธุ์

ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมกลับครั้งที่ 2 (BC2) ของ Basmati370*3/กข7 กับพันธุ์ ไออาร์68 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR90008-58-1-1-3
การรับรองพันธุ์ – คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร (วัดจากรากต้นข้าวถึงปลายรวงข้าว)
– ไม่ไวต่อช่วงแสง
– อายุเก็บเกี่ยว 105 – 120 วัน (ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ โดยวิธีหว่านน้ำตมอายุ 105 วัน )
– ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้ง
– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
– ระยะพักตัว ประมาณ 5 สัปดาห์
– เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.47 x 1.83 มิลลิเมตร
– ท้องไข่น้อย
– ปริมาณอมิโลส 28.3%
– คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ประเภทข้าวเสาไห้
ผลผลิต – ประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น – ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
– ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
– ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1

ข้อควรระวัง – ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม และโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพธรรมชาติ
พื้นที่แนะนำ – นาชลประทานภาคกลางที่ทำนาต่อเนื่อง และพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Posted by: thaifarmer | กุมภาพันธ์ 27, 2011

ข้าวพันธ์ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)

ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)
ชื่อพันธุ์ – ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)
ชนิด – ข้าวเจ้าหอม

คู่ผสม
– BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1

ประวัติพันธุ์
– ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533
– พ.ศ. 2534-2536 คัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูลจากชั่วที่ 2-6 จนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1
– พ.ศ. 2536 ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
– พ.ศ. 2537-2538 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
– พ.ศ. 2539-2540 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี วิเคราะห์คุณภาพ เมล็ดทาง กายภาพและทางเคมี ทดสอบความต้านทานต่อโรค แมลง ศัตรูข้าว ที่สำคัญ
– พ.ศ. 2540-2541 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต
– พ.ศ. 2541-2542 ปลูกขยายพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์ดัก

การรับรองพันธุ์ – คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรอง
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 และให้ชื่อว่า ปทุมธานี 1


ลักษณะประจำพันธุ์
– เป็นข้าวเจ้าหอม สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร
– เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
– อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วัน
– ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขนกาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45 องศา กับ ลำต้น รวงอยู่ใต้ใบธง
– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน ส่วนมากมีหางสั้น
– ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์
– เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1x 7.6 x.7 มิลลิเมตร – ปริมาณอมิโลส 17.8%
– คุณภาพข้าวสุก นุ่มค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลผลิต
– ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
– ให้ผลผลิตสูง
– เป็นข้าวเจ้าหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
– คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
– ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
– ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
– ค่อนข้างไม่ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
– ไม่ควรใช้ปุ๋ยในอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าใส่มากเกินไปทำให้ ฟางอ่อน ต้นข้าวล้ม และผลผลิตลดลง

พื้นที่แนะนำ
– พื้นที่นาชลประทานภาคกลาง

Posted by: thaifarmer | กุมภาพันธ์ 27, 2011

พันธุ์ข้าวเจ้า กข-41

พันธุ์ข้าวเจ้า กข-41

ประวัติ
พันธุ์ข้าว กข-41 ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 จากสายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 โดยการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 กับสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมกับ RP217-635-8 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วที่ 1-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และชั่วที่ 4 – 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกร ตั้งแต่ฤดูนาปี 2547 – 2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูงสุด 1,104 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำสุด 616 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกทุก 10 วัน ในรอบปี 2549 อายุ 105 วัน ความสูง 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียวตั้งตรง ใบธงตั้งตรง ยาว 35 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียว ยาว 10.4 มิลลิเมตร ขนาดข้าวกล้อง ยาว 7.73 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.3 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง 27.15 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแป้งอ่อนระยะการไหลของแป้ง 77 มิลลิเมตร ข้าวเมื่อหุงสุก มีลักษณะร่วน และค่อนข้างแข็ง

ลักษณะเด่น
1 ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อ/ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820 กก./ไร่)
สุพรรณบุรี 3 (768 กก./ไร่) กข-29 (835 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 23, 5, 13, 4 และ 20 ตามลำดับ
2 ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้
3 คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้

ข้อแนะนำ
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน – พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ

Posted by: thaifarmer | กุมภาพันธ์ 27, 2011

ข้าวสกุล 80

ข้าวสกุล 80

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข-31 (ปทุมธานี 80)

• เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 111-118 วัน สูง 117 ซม. กอตั้งใบธงตั้งตรง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ผลผลิตเฉลี่ย 738 กก./ไร่ สูงกว่า สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 %

• ต้านทานเพลี้ยกระโดยหลังขาว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง

• ลักษณะเมล็ดยาวเรียว ขนาดและรูปร่างเมล็ดสม่ำเสมอ ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี เป็นข้าวอมิโลสสูง 27-29% แต่แป้งสุกอ่อน หุงขึ้นหม้อดี

* ทนร้อนได้ดี ผลผลิตข้าวในหน้าร้อน ข้าวไม่ลีบ น้ำหนักดี ผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ *

Older Posts »

หมวดหมู่